ก่อนยุค "เครื่องหล่อตะกั่วเพื่อการเรียงพิมพ์" การพิมพ์หนังสือต้องนำตัวอักษรตะกั่วทีละตัวมาจัดเรียงให้เป็นข้อความ เป็นบรรทัด เป็นหนึ่งหน้า นี่ถือเป็นวิธีการเรียงพิมพ์ก่อนจะนำไปพิมพ์ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีของกูเตนเบิร์ก ที่ได้คิดค้น เมื่อ 500 ปีมาแล้ว ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างมากในการพิมพ์หนังสือซักเล่ม อาจต้องใช้เวลาหลายเดือนถึงหลายปี (เช่น การพิมพ์คัมภีร์ไบเบิ้ล)
เมื่อมาถึงช่วงปี ค.ศ. 1885 - 1887 (พ.ศ. 2428 - 2430) [ตรงกับสมัยรัชการที่ 5] ก็ได้เกิดการประดิษฐ์ เครื่องหล่อตะกั่วเรียงพิมพ์ และได้รับความนิยมอย่างสูง จากผู้ผลิต 2 ราย รายแรกคือ เครื่องหล่อตะกั่วเรียงพิมพ์ไลโนไทป์ (Linotype) ที่ได้รับความนิยมในธุรกิจหนังสือพิมพ์อย่างล้นหลาม ซึ่งจะขอเล่าเรื่องนี้ในวันหลัง อีกรายคือ เครื่องหล่อตะกั่วเรียงพิมพ์โมโนไทป์ (Monotype) ซึ่งได้รับความนิยมในธุรกิจผู้ผลิตหนังสือ ออกแบบโดย โทลเบิร์ท แลนสตัน (Tolbert Lanston) โดยได้ก่อตั้งบริษัท แลนสตัน โมโนไทป์ มะชีน คอมปานี (Lanston Monotype Machine Company) ในปี ค.ศ. 1887 (พ.ศ. 2430) จากนั้นแลนสตันได้พัฒนาปรับปรุงเครื่องโมโนไทป์ให้มีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น จนสามารถเริ่มขายเครื่องโมโนไทป์เครื่องแรกได้ ในปี ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440) และแลนสตันก็ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนักในปีนั้น แต่ก็สามารถหาเงินมาดำเนินงานและพัฒนาสินค้าต่อได้ จากนั้นก็ได้ก่อตั้งบริษัทแลนสตัน โมโนไทป์ ในประเทศอังกฤษในปีเดียวกัน เครื่องโมโนไทป์จึงถูกผลิตทั้งในสหรัฐและในอังกฤษ
BK Letterpress
Wednesday, October 8, 2014
Wednesday, September 24, 2014
จุดเริ่มต้นของหนังสือ (Birth of Book)
ผมเก็บคลิปที่ชอบไว้หลายคลิป วันนี้เปิดมาเจอว่ามีคลิป 2 อัน มีชื่อเดียวกัน คือ Birth of Book วันนี้เลยขอเอามาแชร์กัน
คลิปแรก เป็นคลิปที่ชอบมากๆ เริ่มจากบรรยาการโรงพิมพ์เก่าๆ เต็มไปด้วยฝุ่น แล้วเรียงพิมพ์ตัวตะกัวทีละตัวด้วยมือ จากนั้นก็นำไปพิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์แนวราบ หลังพิมพ์เสร็จเค้าก็สมบทบาทเป็น Bookbinder ทำปกแข็ง เข้าเล่ม โดยมีลูกเล่นที่ปกและสันปก ...ไปดูกันว่าเค้าทำยังไง น่าสนใจดี
คลิปแรก เป็นคลิปที่ชอบมากๆ เริ่มจากบรรยาการโรงพิมพ์เก่าๆ เต็มไปด้วยฝุ่น แล้วเรียงพิมพ์ตัวตะกัวทีละตัวด้วยมือ จากนั้นก็นำไปพิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์แนวราบ หลังพิมพ์เสร็จเค้าก็สมบทบาทเป็น Bookbinder ทำปกแข็ง เข้าเล่ม โดยมีลูกเล่นที่ปกและสันปก ...ไปดูกันว่าเค้าทำยังไง น่าสนใจดี
Tuesday, September 23, 2014
คลิปการพิมพ์ในอเมริกาเมื่อ 60 ปีก่อน
จริงๆ ผมอยากได้รูปโรงพิมพ์หรือคลิปการพิมพ์ของบ้านเรามากกว่า โดยเฉพาะก่อน พ.ศ. 2490 ได้ยิ่งดีเลย แต่ความจริง หากยากมากๆ หาไม่มีเลย ใครมีส่งมาแบ่งปันกันได้นะครับ ....สำหรับวันนี้ผมไปเจอคลิปสารคดีการพิมพ์ 2 คลิปที่น่าสนใจ เป็นคลิปในปี 1920 และ 1947 เมื่อดูทั้งสองคลิป จะเป็นระบบการทำงานพิมพ์ในอดีตได้ดีขึ้น รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในช่วงเวลานั้น เริ่มจากคลิปในปี 1920 หรือ พ.ศ. 2463 (ตรงกับรัชกาลที่ 6) คลิปนี้เป็นหนังเงียบนะครับ ไม่ต้องตกใจถ้าไม่มีเสียง โดยมีพล็อตเรื่องให้หญิงสาวเข้าไปเยี่ยมชมกิจการโรงพิมพ์ ไปดูแต่ละขึ้นตอนในการผลิตหนังสือ ของสำนักพิมพ์ John C. Winston โรงพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากในขณะนั้น
Monday, August 18, 2014
วรรณกรรม Leaves of Grass ที่จัดเรียงพิมพ์ด้วยตัวตะกั่วทีละตัว พิมพ์ด้วย Letterpress และเย็บเล่มด้วยมือ
สถานีโทรทัศน์ PBS ของอเมริกา ได้นำเสนอสกู๊ป "จากวรรณกรรม Leaves of Grass สู่งานแห่งศิลปะ" เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 57 โดยได้พูดถึงการนำวรรณกรรม ลีฟออฟกราส (Leaves of Grass) ที่เผยแพร่ครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1855 (พ.ศ. 2398) นำมาตีพิมพ์ใหม่โดยสำนักพิมพ์ เอรีออน เพรส (Arion Press) แต่การพิมพ์ครั้งนี้ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบปัจจุบัน แต่กลับใช้การพิมพ์แบบดั้งเดิม คือ ใช้ตัวตะกั่วหรือตัวเรียงพิมพ์ จัดเรียงตัวอักษรทีละตัว จนเป็นหน้า แล้วมาพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์เลทเตอร์เพรส (Letterpress) แล้วนำไปเย็บเล่ม (Bookbinding) ด้วยมือ นอกจากนั้น เนื้อหาภายใน ยังให้นักวาดภาพที่มีชื่อเสียงเป็นผู้วาดภาพประกอบ ด้วยขั้นตอนและการเอาใจใส่ในรายละเอียดหนังสือเล่มนี้จึงเปรียบเหมือนงานฝีมือที่มีคุณค่าเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้ทำออกมาจำนวนจำกัด จำหน่ายเล่มละ 15,000 - 30,000 บาท ($500-$1,000)
เครื่องหล่อตัวอักษร Monotype Composition Caster ที่สามารถหล่อตัวอักษรตามคำสั่งที่ตั้งไว้ จึงช่วยลดระยะเวลาเรียงพิมพ์ไปได้มาก
ตะกั่วสำหรับใช้หล่อตัวอักษร
Subscribe to:
Posts (Atom)